เราเรียกเก้าอี้ตัวนี้ง่าย ๆ ว่า “เก้าอี้พลาสติก” แต่สังเกตไหมว่า เป็นเก้าอี้แบบที่เราพบเห็นกันไปทั่วในทุกมุมเมืองทั่วโลก โดยเฉพาะเก้าอี้พลาสติกสีขาว

แต่เก้าอี้แบบนี้มีชื่อเรียกเป็นสากลว่า “เก้าอี้โมโนบล็อก” (Monobloc chair) หรือเก้าอี้แม่พิมพ์เดี่ยว เพราะถูกผลิตด้วยการฉีดพลาสติกขึ้นรูปเป็นเก้าอี้ด้วยแม่พิมพ์ชิ้นเดียว แตกต่างจากเก้าอี้ก่อนหน้า ที่ประกอบจากวัสดุต่าง ๆ หลากหลาย เช่น ไม้ เหล็ก ผ้าใบ ฯลฯ หรือไม่ก็ฉีดพลาสติกเป็นหลายชิ้นส่วนแล้วนำมาประกอบกัน

เก้าอี้พลาสติกทั้งตัวตัวแรกคือ เก้าอี้ Universal 4867 (1965) ออกแบบโดย “โยล โคลอมโบ” (Joe Colombo) ดีไซเนอร์ชาวอิตาเลียน แต่ยังประกอบจากพลาสติกห้าชิ้น คือ ที่นั่ง/พนักพิง และขาสี่ขา ยังไม่ใช่เก้าอี้โมโนบล็อก

เก้าอี้โมโนบล็อกตัวแรกของโลก ผลิตขึ้นในปี 1967 ออกแบบโดย “วิโก้ มาจิสเตรตตี้” (Vico Magistretti) ดีไซเนอร์ชาวอิตาเลียน ชื่อว่า ‘Selene’ ผลิตจากแผ่นพลาสติกหนาสามมิลลิเมตร ถูกจัดเป็นงานดีไซน์คลาสสิกในคอลเลกชันถาวรของพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ของนิวยอร์ก (MoMA)

ด้วยการผลิตจากพลาสติกชิ้นเดียว จึงทำให้ผลิตได้ในปริมาณมาก ๆ ด้วยเวลาอันรวดเร็ว และที่สำคัญราคาถูก นอกจากนี้ยังมีน้ำหนักเบา ดูแลรักษาง่าย ซ้อนเก็บหลาย ๆ ชั้นได้ ทำให้ประหยัดพื้นที่ ซ้ำยังใช้ได้ทั้งในร่มและกลางแจ้ง จึงเป็นที่นิยมใช้งานในที่สาธารณะต่าง ๆ ทั้งในโรงเรียน สนามกีฬา หอประชุม ฯลฯ จนผู้คนบนโลกคุ้นเคยและใช้งานกันมายาวนาน แม้จะมองกันว่าเป็นของใช้ราคาถูกและไร้รสนิยมก็ตาม

อย่างไรก็ตาม ในสมัยที่สิ่งแวดล้อมกำลังวิกฤต ขยะกำลังท่วมโลก พลาสติกลายเป็นวัสดุต้องห้าม เก้าอี้พลาสติกโมโนบล็อกที่เต็มไปด้วยประโยชน์ใช้สอย จึงถูกมองด้วยความคลางแคลงใจ เพราะมีอายุสั้นเพียงไม่กี่ปี เมื่อเสียหรือหักพังก็ซ่อมไม่ได้ ต้องทิ้งไปเป็นขยะพลาสติกที่ย่อยสลายได้ยาก ฃ

แต่ด้วยความธรรมดาสามัญที่ผลิตในแบบอุตสาหกรรม เก้าอี้พลาสติกชิ้นเดียวได้เปลี่ยนบริบทของตัวเอง มาอยู่ในงานแสดงหรือนิทรรศการศิลปะ หรือไม่ก็ถูกดีไซเนอร์ดัดแปลงรูปลักษณ์ให้กลายเป็นของหรูหรา จนกลายเป็นงานดีไซน์ยอดนิยมที่ไม่มีวันตายอีกชิ้นหนึ่ง 

เรื่อง : ธนัย เจริญกุล

ภาพ : Free Vector from freepik.com

ข้อมูล :

Writer

Related Posts

มรดกทางวัฒนธรรมของยูเครนกำลังอยู่ในภาวะเสี่ยง

“บัตรเชิญ” จาก มิ้นท์ Barefoot ไกด์อาบป่าสาขาประเทศไทย

โอกาสของผู้พิการในตลาดแรงงาน “คุณค่า” มิใช่ “เมตตา”

กว่าจะมาเป็นหลักสูตรอบรมดอยหลวงเชียงดาว เบื้องหลังเรื่องราวระหว่าง “ผู้คน” และ “ธรรมชาติ” ที่ไม่จบแค่ห้องอบรม

นาปาลืมเกิร์ล

นาปาล์มเกิร์ล

วิเวียน ไมเออร์ : พี่เลี้ยงดูแลเด็กที่ใช้เวลาว่างออกไปถ่ายภาพชีวิตผู้คนในเมืองชิคาโกและนิวยอร์ก จนมีภาพถ่ายชั้นเลิศมากว่า 1 แสนภาพ