สัตว์ในป่าตามธรรมชาติตามแล้วไม่ว่าสัตว์เล็กหรือใหญ่ วงจรชีวิตของมันแล้วในหลายครั้งจะต้องเป็น “ผู้ล่า” หรือ “ผู้ถูกล่า” การเอาชีวิตรอดจึงหนีไม่พ้นการ “ต่อสู้” เมื่อแย่งอาหาร แย่งคู่ หรือเมื่อเจอศัตรูคู่ปรับ เช่น ตั๊กแตน จิงโจ้ และนอกจากการต่อสู้โดยธรรมชาติของมันแล้ว “สัตว์นักสู้” สำหรับบางคนอาจนึกถึงสัตว์ที่มนุษย์นำมาต่อสู้กัน อย่างเช่น การเล่นชนกว่างของชาวล้านนา หรือการเล่นชนไก่ ชนปลากัดของคนภาคกลาง สัตว์ที่ได้ชื่อว่าเป็น “นักต่อสู้แห่งป่า” ก็คือ ด้วงกว่าง, กว่าง หรือ แมงคาม  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Xylotrupes Gideon จัดอยู่ในแมลงปีกแข็ง มีเขา 2 เขาที่ตัวผู้จะใช้การต่อสู้วัดความแข็งแกร่ง ดุดัน และเพื่อครอบครัวตัวเมีย ในช่วงเดือนกันยายนนี้ซึ่งเป็นหน้าฝน จะพบด้วงกว่างได้มากตามต้นไม้ เช่น มะค่าโมง พฤกษ์ และหางนกยูง เพราะเป็นช่วงที่มันหาคู่ผสมพันธุ์ จากนั้นตัวเมียจะฝังไข่ไว้ใต้ดินจนฟักตัวต่อไป

ด้วงกว่างชน (Xylotrupes gideon)

ด้วงกว่างชน (Xylotrupes gideon) พันธุ์ที่นิยมจับมาชนกัน โดยจะใส่ตัวเมียในกระบอกไม้ไผ่เจาะรู แล้ววางกว่างตัวผู้ไว้ข้างบน เพื่อให้กลิ่นตัวเมียกระตุ้นให้พวกมันสู้กัน

กว่างเฮอร์คิวลิส (Dynastes Hercules)

ด้วงกว่างเฮอร์คิวลิส (Dynastes Hercules) เป็นด้วงกว่างชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก พบในอเมริกากลาง-อเมริกาใต้ 

ด้วงกว่างเขาสามจันท์ (Chalcosoma Caucasus)

ด้วงกว่างสามเขาจันท์ (Chalcosoma caucasus) ชอบบินเข้าหาแสงไฟเพื่อจับคู่ผสมพันธุ์ เป็นด้วงกว่างที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย พบในภาคตะวันออก แถบเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว และน้ำตกพลิ้ว จ.จันทบุรี

ด้วงกว่างญี่ปุ่น (Trypoxylus Dichotomus)

ด้วงกว่างญี่ปุ่น (Trypoxylus dichotomus) เป็นกว่างที่แข็งแรงที่สุด และมันจะใช้เขาล่างงัดคู่ต่อสู้ให้หงายตกจากต้นไม้

ด้วงกว่างสามเขาแอตลาส (Chalcosoma Atlas) Modified by CombineZP

ด้วงกว่างสามเขาแอตลาส (Chalcosoma atlas) สีออกเขียว ส่วนหัวมีเขากลางโค้งขึ้นด้านในมีรอยหยักคล้ายฟันเลื่อย เขาโค้งยาวปลายแหลมคว่ำลง 1 คู่ ในเพศผู้ขนาดเล็กบริเวณปลายเขาจะแตกออกเป็น 3 แฉก

รู้หรือไม่ ด้วงกว่างกินได้?

ด้วงกว่าง ให้พลังงานประมาณ 901-50 กิโลแคลอรี่

ข้อมูลจาก :

Writer

Related Posts

ปักหมุดจุดท่องเที่ยวรับลมหนาว

“บัตรเชิญ” จาก มิ้นท์ Barefoot ไกด์อาบป่าสาขาประเทศไทย

การเดินทางด้วยรักและธรรมชาติเป็นของทุกคน

วันแพนด้าแดง

นกตบยุงเล็ก

“ภูกระดึง” ความงดงามและความลึกลับของธรรมชาติในหน้าฝน